Assignment 2 …

1.จงอธิบายการทำงานของ Internet

ตอบ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดหรือต่างขนาดกัน ที่เชื่อมต่อภายในเครือข่ายสามารถสื่อสารกันได้นั้น จะต้องมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกันหรือใช้กฎและข้อตกลงเดียวกัน ซึ่งก็คือ โพรโทคอล (protocol) ในการควบคุมรูปแบบข้อมูลและการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โพโทคอลที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต เรียกว่าทรานมิสชันคอนโทรไปรโทคอล/อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol) หรือมีชื่อย่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP)  

003

อินเทอร์เน็ตสามารถส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานปลายทางได้มากยิ่งหนึ่งเส้นทาง ซึ่งหากเส้นทางบางเส้นทางได้รับความเสียหายระบบเครือข่ายก็ยังคงสื่อสารกันได้ โดยเส้นทางที่เหลือที่เหลือเส้นทางอื่น ซึ่งการส่งข้อมูลดังกล่าวจะใช้หลักการของเครือข่ายแบบแพ็กเก็ตสวิตชิง (Packet-Switching Network) กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นกลุ่มๆ หรือแพ็กเก็ต และส่งไปยังปลายทางดโดยใช้เส้นทางต่างๆ กัน ขึ้นอยู่กับปลายทางที่กำหนด โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่องเพื่อให้คอมพิวเตอร์อื่นๆ อ้างอิงถึงได้ เช่นเดียวกับการโทรศัพท์จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งซึ่งจำเป็นต้องมีหมายเลขโทรศัพท์ของเครื่องต้นทางและเครื่องปลายทาง
หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรียกว่า หมายเลขไอพี (IP Address) ซึ่งเป็นหมายเลขชุดหนึ่งมีขนาด 32 บิด หมายเลขชุดนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน ซึ่งแต่ละส่วนจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255 เช่น 205.42.117.104 โดยหมายเลขไอพีของเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องไมซ้ำกัน และเนื่องจากหมายเลขไอพีจดจำได้ยาก ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากอยู่ในเครือข่าย ก็จะทำให้สับสนได้ง่าย จึงได้เกิดการตั้งชื่อที่เป็นตัวอักษรขึ้นมาแทนหมายเลขไอพี เพื่อช่วยในการจดจำเรียกว่า ดีเอ็นเอส (DNS: Domain Name Server) ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อ และโดเมน
โดเมนมีมาตรฐานใช้ร่วมกันสำหรับหน่วยงานและประเทศต่างๆ ดังนี้
1. โดเมนระดับบนสุด จะบอกถึงประเภทขององค์กร หรือชื่อประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่

003-1003-2

    ทั้งนี้ในกรณีที่เป็นโดเมนระดับบนสุดที่บ่งบอกประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่นั้น จะต้องมีโดเมนระดับย่อย เพื่อระบุประเภทขององค์กร

2. โดเมนระดับย่อย ใช้ในประเทศ ซึ่งจะบอกถึงประเภทองค์กร

003-3

2.เมื่อนักศึกษาต้องการใช้ internet กับอุปกรณ์สื่อสารหรือคอมพิวเตอร์มีวิธีการอย่างไร

ตอบ  การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเข้าเชื่อมกับระบบอินเทอร์เน็ต สามารถกระทำได้ 2 ลักษณะ คือ

1 การเชื่อมต่อโดยตรง การเชื่อมต่อแบบนี้จะเป็นการนำระบบของเราเข้าเชื่อมต่อโดยตรงกับสายหลัก (Backbone) ของอินเทอร์เน็ต โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า เกตเวย์ (Gateway) หรือ เร้าเตอร์ (Router) ร่วมกับสายสัญญาณความเร็วสูง โดยเราจะต้องติดต่อโดยตรงกับ InterNIC ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับสมัครเป็นสมาชิกของชุมชนอินเทอร์เน็ต เพื่อขอชื่อโดเมนและติดตั้งเกตเวย์เข้ากับสายหลัก การเชื่อมต่อแบบนี้จะสามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา จึงเหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในระบบ 24 ชั่วโมง แต่อย่างไรก็ดี ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อลักษณะนี้จะมีราคาแพงมากทั้งทางด้านอุปกรณ์และการบำรุงรักษา
2 การเชื่อมต่อผ่านทางผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการการเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ไอเอสพี (ISP) จะเป็นองค์กรๆ หนึ่งที่ทำการติดตั้งและดูแลเครื่องสำหรับให้บริการ (Server) ที่ต่อตรงเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งอนุญาตให้ผู้สมัครเป็นสมาชิกขององค์กรนำระบบของตนเข้ามาเชื่อมต่อได้ ISP จึงเปรียบเสมือนช่องทางผ่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งหลังจากที่เราเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แล้ว เราก็สามารถจะเชื่อมต่อไปยังที่ใดก็ได้ในระบบ
ในการเชื่อมต่อผ่านทาง ISP นี้ยังแบ่งลักษณะการเชื่อมต่อออกเป็น 2 ประเภท ตามความต้องการใช้งานของสมาชิก ดังนี้

– การเชื่อมต่อแบบองค์กร (Coorporate User Services) เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นๆ เข้าเชื่อมกับ ISP เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้
– การเชื่อมโยงส่วนบุคคล (Individual User Services) บุคคลธรรมดาทั่วไปสามารถขอเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน์ตได้ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าโมเด็ม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก โดยติดต่อขอใช้บริการผ่านการสมัครเป็นสมาชิกของ ISP ซึ่งอาจจะเป็นสมาชิกรายชั่วโมง รายเดือน หรือเป็นลักษณะสมาชิกสำเร็จรูป แล้วแต่ทาง ISP นั้นๆ จะให้บริการ โดยทาง ISP จะให้ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) สำหรับสมาชิกแต่ละคนสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต

comlink

3.Home Network หมายถึงอะไร และมีวิธีการทำอย่างไร

ตอบ  เครือข่ายในบ้าน หรือ Home Network ก็คือเครือข่ายที่เชี่อมโยงอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ต่างๆในบ้านเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ หลายๆเครื่อง พรินเตอร์ ปาล์มหรือ พ็อคเก็ตพีซี โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์สําหรับแชร์อินเตอร์เน็ตเป็นต้น

วัตถุประสงค์ความต้องการในการสร้างเครือข่ายภายในบ้านคือ

1.แชร์พรินเตอร์

2.แชร์ไฟล์

3.แชร์อุปกรณ์อื่นๆ

4.แชร์อินเตอร์เน็ต

5.เล่นเกมผ่านเครือข่าย

วิธีสร้าง home network
1.กำหนดค่า
Computer Name
PC1= ITITHAI
PC2=Joomla
NoteBook = IT
Name workgroup =MSHOME
โดยคอมพิวเตอร์ทั้งหมดนี้จะรับ Ip address มาจาก Router
2. แต่ละเครื่องให้ไปที่ Start – – -> Control Panel – – -> จากนั้นให้ทำการ Double Click icon Network Setup wizard

Share_network_Pic1

3. รูปก็จะปรากฏดังภาพ จากนั้นให้ทำการกดปุ่ม Next

Share_network_Pic2

4. จากนั้นก็ให้ทำการกด Next
Share_network_Pic3
5. จากนั้นเลือก หัวข้อที่2

Share_network_Pic4

6.จากนั้นระบบจะให้ใส่ Computer Name ให้ใส่ตามใจชอบเช่น PC1(ขั้นตอนนี้ผู้เขียนของใส่ว่า ITITHAI ) จากนั้นทำการกด Next ต่อไป

Share_network_Pic5

7. ขั้นตอนนี้ระบบจะให้ใส่ชื่อ Workgroup คือให้เราใส่ชื่อระบบภายในบ้านของเรา โดยผู้อ่านอาจจะใส่เป็น Home , Sharehome หรือใส่เป็นค่ามาตราฐาน MSHOME เลยก็ได้ แต่เครื่องภายในบ้านเราทั้งหมดจะต้่องมีชื่อ Workgroup ที่เหมือนกันทั้งหมด

Share_network_Pic6

8. หัวข้อนี้คือให้เราเลือก Turn on file and printer sharing เพื่อเป็นการเปิด Function share resource จากนั้นทำการกด Next

Share_network_Pic7

9.หน้าต่างนี้ Window จะสรุปค่า config ต่างๆที่เราทำการปรับมาไว้เมื่อกี้มาให้เราดู จากนั้นให้กด Next

Share_network_Pic8

10. ในขั้นตอนนี้ให้เราเลือกหัวข้อ Just Finish .. …… เพื่อเป็นการสิ้นสินในการ Setup จากนั้นกด Next

Share_network_Pic9

11.ก็เป็นอันเสร็จสิ้นในการ Setup ระบบการแชร์

Share_network_Pic10

12.จากนั้นก็ให้เราไปทำการปิด Filewall ที่เครื่อง PC1(เครื่องที่แชร์ข้อมูลต้องปิด Firewall ) ของแต่ละเครื่อง

Share_network_Pic11

13. จากนั้นก็ดูใน Tab Exception ว่า File and Printer Sharing มีเครื่องหมายถูก อยู่ด้านหน้าหรือเปล่า จากนั้นก็ทำการกด Ok

Share_network_Pic12

14. จากนั้นเราก็ทำการเปิด Share Drive / Folder ที่เราต้องการ ทีนี้ก็จะแชร์ใช้ทรัพยากร่วมกันภายในบ้านได้แล้ว

4.3G และ ADSL มีความแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ ADSL จะดีกว่าตรงที่ มันส่งผ่านข้อมูลผ่านสาย ซึ่งความต่อเนื่องและค่าเสถียรจะดีกว่า 3G ซึ่งจะอาศัยอากาศเป็นตัวกลางในการส่งสัญญาณ การที่ส่งสัญญาณผ่านอากาศ มันจะมีค่าผกผันมาก มากกว่าที่จะวิ่งผ่านสาย ทำให้เกิดการสูญเสียความเร็วบางส่วนไป 

ก่อนจะเลือกใช้ ควรพิจราณาตามความเหมาะสมและพื้นที่ๆ
ADSL ไม่สามารถนำไปใช้งานนอกสถานที่ได้
3G เอาไปใช้งานติดตัวได้ทุกที่

5.IPv6, Cloud Computing Software Development, และ WebRTC มีลักษณะอย่างไรมีผลกระทบกับธุรกิจและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างไร

ตอบ – Pv6 คือมาตรฐานการสื่อสารระหว่างประเทศ ใช้สำหรับรับส่งชุดข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ IPv6 header มี 128 บิต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชุดข้อมูล และยังรวมถึงแอดเดรสต้นทางและปลายทาง และบิตควบคุมอื่นๆ

แอดเดรส IPv6 แบบ 128 บิต จะแทนด้วยกลุ่มตัวเลขฐานสิบหก จำนวน 8 กลุ่ม ซึ่งคั่นด้วยเครื่องหมาย : ตัวอย่างเช่น
2001:0db8:0000:0000:0000:0000:0000:0001
เนื่องจากความยาวของฟอร์แมตนี้ แอดเดรส IPv6 จึงสามารถย่อได้โดยตัดศูนย์ที่นำในกลุ่ม 16 บิต ตัวอย่างเช่น
2001:db8:0:0:0:0:0:1
จากนั้น ศูนย์กลุ่มที่อยู่เรียงกัน จะถูกแทนที่ด้วยเครื่องหมาย :: ตัวอย่างเช่น
2001:db8::1
ด้วยความไม่พอเพียงของ IPv4 ที่กำลังจะหมดไป และคุณสมบัติที่เหนือกว่าอย่างมากของ IPv6 ไม่ช้าก็เร็วทุกภาคทุกหน่วยงานจำเป็นต้องนำ IPv6 มาใช้อย่างเลี่ยงไม่ได้ และต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบโครงข่ายให้รองรับกับการใช้งาน IPv6 เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของผู้บริโภคในการใข้งานอินเทอร์เน็ตและการใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆ ดังนั้นผู้ให้บริการเหล่านี้ควรมีการศึกษาวางแผนเตรียมพร้อมล่วงหน้า เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในการนำ IPv6 มาใช้ในอนาคต โดยผู้ให้บริการควรสำรวจอุปกรณ์เครือข่ายที่สามารถรองรับกับ IPv6 และวางแผนเตรียมพร้อมในการปรับปรุงโครงข่ายของตน ในส่วนของผู้พัฒนา product และแอปพลิเคชันก็สามารถที่จะสร้างโอกาสทางธุรกิจได้ โดยศึกษาความต้องการของตลาด เพื่อคินค้นออกแบบพัฒนา product หรือแอปพลิเคชันที่รองรับกับ IPv6 ซึ่งเหล่านี้ควรมีการเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า เพราะเมื่อถึงเวลาที่ IPv4 หมดลงจริงๆ ผู้ที่พร้อมมากกว่าจะเป็นผู้ได้เปรียบ นอกจากนี้ความเร็วในการเข้ามาและการเตรียมความพร้อมที่ดีจะเป็นการเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันทางธุรกิจอีกด้วย
ปัจจุบันนี้อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้นและมีเทคโนโลยีต่างๆ มากมายที่จะต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อถึงกัน ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าแม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือก็มีอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนประกอบหนึ่งรวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ดังนั้นระบบอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันที่ใช้ IP Address ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้จะต้องมีการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตโดยการขยาย IP Address ให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับการทำงานในโลกอนาคตที่มีอย่างไม่จำกัด ซึ่งอินเทอร์เน็ต ที่ถูกพัฒนาขึ้นนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมหาศาลและช่วยอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตในทุกๆ ด้านรวมไปถึงการศึกษาและด้านธุรกิจ

– Cloud computing เป็นหลักการที่อธิบายถึงการที่ทรัพยากรทางด้านคอมพิวเตอร์ (computational resources) อาทิ หน่วยความจำ หน่วยประมวลผล ข้อมูล และแอปพลิเคชันต่างๆ ถูกนำมาเสนอให้แก่ผู้ใช้ในลักษณะของบริการ (services) บนอินเตอร์เน็ต ซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกใช้ บริการต่างๆเหล่านี้ได้ทั้งทางโทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ เครื่อง laptop หรือแม้แต่ จากเครื่องเล่นเกมส์ต่างๆ
ส่วนชื่อของ Cloud computing นั้นก็ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสัญลักษณ์ก้อนเมฆ (หรือ cloud) ซึ่งถูกใช้เพื่อแสดงถึง คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์คหรืออินเตอร์เน็ตใน flow charts และ diagrams ต่างๆ
ความสำคัญของ Cloud Computing กับธุรกิจยุคใหม่
การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างธุรกิจในยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง ความรวดเร็วในการทำธุรกิจถือเป็นปัจจัยหลักในการเอาชนะคู่แข่งขันได้ ระบบไอทีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องสามารถตอบสนองการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโมเดลธุรกิจ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจอย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิดการแนวทางจัดการระบบไอทีแบบใหม่ที่เรียกว่า Cloud Computing
Cloud Computing สร้างความเหนือกว่าให้กับธุรกิจ
Cloud Computing เป็นระบบการบริหารจัดการทรัพยากรไอทีแบบใหม่ ที่มีความยืดหยุ่นสูง เพื่อรองรับกับธุรกิจยุคใหม่ที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงในทุกวินาที ระบบการจัดการทรัพยากรทางด้านไอทีแบบ Cloud Computing ส่งผลให้ธุรกิจสามารถเพิ่ม ลด และปรับเปลี่ยนระบบไอทีได้ทันทีที่ต้องการตามนโยบายการดำเนินธุรกิจ โดยไม่จำเป็นต้องรอการสั่งซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม เพราะโครงสร้างของระบบถูกออกแบบให้ทำงานอยู่บนระบบเสมือน ( Virtualization) ทำให้สามารถเพิ่ม ลด และปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบไอทีที่รองรับการทำงานของ Software และ Application ที่จำเป็นต่อธุรกิจได้ทันที
ในมุมมองของการทำธุรกิจ การเพิ่มเติมหน่วยงานหรือขยายธุรกิจออกไป จำเป็นต้องคำนึงถึงต้นทุนการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ระบบไอทีถูกมองว่าเป็นการลงทุนที่มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นการลงทุนเพื่อเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ถือเป็นการลงทุนที่ยังไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ชัดเจน ทำให้องค์กรต้องแบกรับภาระต้นทุนค่อนข้างสูง แต่เมื่อองค์กรเปลี่ยนมาใช้การบริหารจัดการทรัพยากรไอทีแบบ Cloud Computing การเพิ่มการใช้งานระบบไอทีจะมีต้นทุนที่ต่ำ ลงเพราะโครงสร้าง Infrastructure ทั้งหมดจะถูกสร้างเป็นระบบเสมือนและสามารถใช้งานได้ทันที ทำให้การตัดสินใจในการต่อยอดทางธุรกิจเป็นไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น หรือในกรณีที่องค์กรไม่ต้องการลงทุนทางด้านระบบไอที ก็สามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการของ Cloud Service Provider ได้ Cloud Computing จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้องค์กรสามารถประหยัดต้นทุนทางด้านไอทีได้ในระยะยาว
ประโยชน์ของ cloud computing
-Enabling Innovation: ได้รับบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่เสมอ
-Ease of Use: ใช้งานง่าย โดยเปรียบเหมือนเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน
-มีความคล่องตัว ผู้ใช้สามารถดึงข้อมูลจาก Server ได้ตามต้องการ มีความยืดหยุ่น สามารถขยายหรือลดโครงสร้างพื้นฐานได้สะดวกและง่ายต่อการพัฒนาและเปลี่ยนแปลง
-Reduction in costs: มีต้นทุนที่ลดลงเนื่องจากผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้ง Server ขนาดใหญ่ด้วยตนเอง ลดภาระต้นทุนเกี่ยวกับการติดตั้งและบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์ประมวลผลขนาดใหญ่
-Freedom of Location : มีอิสระจากอุปกรณ์ และสถานที่ เพราะผู้ใช้สามารถเรียกดูข้อมูลได้จากทุกแห่งทั่วโลกที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้
-Scalability and speed : การขยายตัวเป็นแบบ (Scalability) สูง สามารถเข้าถึงแพลทฟอร์มที่หลากหลายและความสามารถในการทำงานร่วมกับแพลทฟอร์มที่ยึดหยุ่นและมีศักยภาพด้วยโครงสร้างที่หลากหลาย
-มีความไว้วางใจ (Reliability) สูงขึ้น
-มีความปลอดภัย (Security) สูง เนื่องจากทุกๆ โปรแกรมและไฟล์ทั้งหมดจะถูกเก็บอยู่ใน Supercomputer ส่วนกลางที่มีขนาดใหญ่หรือจัดเก็บอยู่ใน Network ความเร็วสูง
-มีความยั่งยืน (Sustainability) ซึ่งได้จากการใช้ทรัพยากรที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพ
-Reduce run time and response time : เพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลของโปรแกรมประยุกต์ ทำให้โปรแกรมที่มีการคำนวณและประมวลผลที่ยุ่งยากและซับซ้อนสามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้น

 
– WebRTC ชื่อเต็มคือ Web Real-Time Communication เป็น javascript api ใหม่ที่สามารถทำให้คุยแบบเห็นหน้า ได้ยินเสียง และแชร์ไฟล์หากันแบบ P2P ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาโปรแกรมเสริมใดๆ โดย Google ได้นำเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารแบบเรียลไทม์มาเป็น OpenSource Project ของโครงการ WebRTC ไปแล้ว ซึ่งโครงการ WebRTC คือการสร้าง API มาตรฐานสำหรับการดึงไมโครโฟนและเว็บแคมของคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ทำให้เว็บสามารถดึงภาพและเสียงจากเครื่องแล้วส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ได้ตามเวลาจริง ดังนั้นเราจึงสามารถสร้างห้องแชตวิดีโอโดยไม่ต้องการปลั๊กอินใดๆ เพิ่มเติม ต่างไปจากทุกวันนี้ที่ Google Talk, และ Hangout ของกูเกิล ยังคงต้องการปลั๊กอิน Google Talk แยกออกมาเพื่อทำงาน
เป็นโอกาสสำหรับธุรกิจเพื่อมนุษย์ซอฟแวร์เว็บเพื่อปลูกฝังความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างที่ไม่เคยมาก่อน สามารถโต้ตอบได้ทันที ทำให้การติดต่อสื่อสารกันสะดวกและประหยัด

อ้างอิง :

http://krutuk.kkw2.ac.th/2012/?page_id=13

http://tc.mengrai.ac.th/paisan/e-learning/internet/page31.htm

http://www.kmitl.ac.th/~kpteeraw/learning/home_net_2.pdf

http://itithai.com/article-tips/windows/24-share-resource-data-in-home.html

http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=1d0eb64712f801f3

http://www.pacnet.com/th/what-is-ipv6/

http://www.ecti-thailand.org/emagazine/views/63

http://inetbangkok.in.th/?p=918

http://www.it.co.th/networkdetail.php?n_id=25

http://www.uih.co.th/knowledge/view/346

http://www.netbright.co.th/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=18

http://sarayutluy.wordpress.com/assignment-4/assignment-3-2/cloud-computing

http://pvconnect.com

ใส่ความเห็น